Featured Posts

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

ลานสมเด็จพระเนศวร ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก

สวัสดีค่ะ วันนี้ฤกษ์งามยามดีแระ อิอิ..อิชั้นจะพาทุก ๆ ท่านเข้าสู่ประตูรั้วของมหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก เพื่อไปทำความรู้จักกับมหาวิทยาลัยแห่งนี้ให้มากขึ้นนะคะ

สถานที่แรกเมื่อเข้าประตูในส่วนหน้ามอ.เข้าไป และเป็นสถานที่ที่สำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของมหาวิทยาลัยก็คือที่นี่ค่ะ...

"ลานสมเด็จฯ"

ลานสมเด็จพระนเรศวร หรือที่น้อง ๆ นิสิตชาวมหาวิทยาลัยนเรศวร และบุคลากรมหาวิทยาลัย รวมไปถึงผู้มีจิตคารวะต่อองค์สมเด็จพระนเรศวรเรียกขานนั้น ก็คือ คือลานที่ประดิษฐาน พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของนิสิตทั้งมหาวิทยาลัยนั่นเองค่ะ





ว่ากันว่าลานสมเด็จนี้จะมีช่วงคึกคักมากๆที่สุดในรอบปี คือ สอบมิดเทอม และช่วงสอบไฟนอลเท่านั้น ความลับก็คือ..น้อง ๆ เค้าจะมา "บน" และ "แก้บน" สมเด็จ ฯ กันน่ะ :)




สิ่งที่นิสิตมักบน สมเด็จ ฯ เสมอคือ
    o วิ่งรอบลานสมเด็จ(เมื่อก่อนเล็กกว่านี้ ปัจจุบันขยายกว้างขึ้น)
    o ถูลานสมเด็จ (อันนี้สมเด็จท่านอนุโลมให้เอาเพื่อนมาช่วยถูได้ 555+)
    o ดอกไม้สีสันสวยงามต่างๆ
    o ตุ๊กตาไม้ที่เป็นช้าง ม้า และไก่ชน




ช่วงสอบ ลานสมเด็จ ฯ มักจะคละคลุ้ง อบอวลไปด้วยควันธูปเสมอ ๆ

ลานสมเด็จช่วงกลางวันร้อนมาก ๆ ค่ะ แต่เชื่อมั้ยคะ ช่วงที่ไปเก็บภาพลานสมเด็จมา ยังเห็นน้อง ๆ นิสิต มน. ที่มาไหว้สมเด็จ ฯ อยู่เลย และเนื่องจากลานสมเด็จปูด้วยพื้นหินอ่อน ซึ่งอมความร้อนมาก ส่วนน้อง ๆ นิสิตและผู้มาสักการะองค์ท่าน ก็จะ "ไม่ใส่รองเท้า" บนลานสมเด็จกัน (ลานสะอาดมากค่ะ เพราะมีเด็ก ๆ มาแก้บนด้วยการถูพื้นลานบ่อยมาก 555+ มีคนเล่าว่าช่วงสอบ ผ้าถูพื้นลานสมเด็จไม่เคยแห้งเลย) แต่ต่อให้ร้อนยังไง น้อง ๆ กลุ่มนั้นก็บ่ยั่นค่ะ...ถอดรองเท้า แล้ววิ่งขึ้นไปบนเสื่อหน้าองค์สมเด็จ ฯ อย่างไว..เป็นภาพที่น่ารักจริง ๆ ค่ะ




พรุ่งนี้จะพาไปเที่ยวชม อาคารเรียนและทัศนียภาพภายใน มหาวิทยาลัยนเรศวร กันต่อนะคะ

พื้นที่การศึกษา ของมหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก

มหาวิทยาลัยนเรศวร

แบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ค่ะ

1.   มหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนสนามบินหรือที่เรียกว่า "มน.ใน"

ส่วนนี้เป็นสถานที่ตั้งแรกเดิมของมหาวิทยาลัยน่ะนะคะ มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองพิษณุโลก  เลขที่ 1 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก


ในปัจจุบันคณะและหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้ย้ายไปยังพื้นที่ใหม่ทั้งหมดตั้งแต่ปีการศึกษา 2535 คงเหลือแต่เพียงหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำโขง-สาละวินของสถานอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน "ไภษัชยศาลา" คณะเภสัชศาสตร์ และศูนย์สุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยนเรศวร (สนามบิน) คณะแพทยศาสตร์


ซึ่งในปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงพื้นที่ส่วนใหญ่ เพื่อเป็นที่ตั้งของโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

2.   มหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนหนองอ้อหรือที่เรียกว่า "มน.นอก"

ซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบันของมหาวิทยาลัย มีพื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ ค่ะ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลกไปทางใต้ประมาณ 10 กม. โดยตั้งอยู่  เลขที่ 99 หมู่ 9 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

แต่เดิมนั้นที่ดินบริเวณนี้เป็นที่ดินสาธารณะโดยชาวบ้านเรียกว่า "ทุ่งหนองอ้อ - ปากคลองจิก" เนื่องจากเคยเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่เต็มไปด้วยต้นอ้อ และมีต้นจิกปกคลุมไปทั่ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ทางมหาวิทยาลัยได้เข้าใช้พื้นที่และทำการปรับรูปที่ดินและถมหนองน้ำต่างๆ ซึ่งการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยนั้นอาศัยแผนแม่บท (Master Plan) ที่จัดทำขึ้นโดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในปี พ.ศ. 2527

ภาพถ่ายทางอากาศของมหาวิทยาลัยนเรศวร การก่อสร้างอาคารของแต่ละคณะและแต่ละหน่วยงานนั้น คำนึงถึงกลุ่มสาขาวิชาเป็นหลักน่ะนะคะ โดยมีถนนนเรศวร และถนนเอกาทศรถเป็นถนนสายหลักล้อมรอบมหาวิทยาลัย และมีถนนเชื่อมต่อเข้าสู่อาคารต่างๆ มีประตูเข้า - ออกโดยรอบมหาวิทยาลัย 6 ประตู ซึ่งอาคารในมหาวิทยาลัยแบ่งเป็น 6 กลุ่มอาคารดังต่อไปนี้

       กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบด้วย อาคารสิรินธร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร และโรงพยาบาลทันตกรรม

       กลุ่มอาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา (อาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร - อาคารศูนย์ความเป็นเลิศ คณะแพทยศาสตร์ - อาคารที่จอดรถ) (กำลังดำเนินการก่อสร้าง) อาคารคณะแพทยศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ กลุ่มอาคารคณะเภสัชศาสตร์ กลุ่มอาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ - คณะพยาบาลศาสตร์ - คณะสหเวชศาสตร์ - คณะสาธารณสุขศาสตร์ และอาคารสถานวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีและวิศวกรรมชีวภาพทางการแพทย์ (กำลังดำเนินการก่อสร้าง)
       กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วยกลุ่มอาคารคณะวิทยาศาสตร์ กลุ่มอาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ อาคารวิทยาลัยพลังงานทดแทน กลุ่มอาคารคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และอาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

       กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประกอบด้วยอาคารคณะศึกษาศาสตร์ อาคารวิทยาลัยนานาชาติ (อาคารสำนักหอสมุดเดิม) และกลุ่มอาคารคณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ - คณะนิติศาสตร์ - คณะศึกษาศาสตร์ - คณะสังคมศาสตร์ - คณะมนุษยศาสตร์

       อาคารส่วนกลาง ประกอบด้วย อาคารมิ่งขวัญ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา บรมราชินีนาถ (สำนักงานอธิการบดี) อาคารอเนกประสงค์ อาคารสำนักหอสมุด อาคารสถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินินาถ (อาคารเรียนรวมและโรงละคร) อาคารบัณฑิตวิทยาลัย กลุ่มอาคารพิพิธภัณฑ์ชีวิต และอาคารสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยนเรศวร

       อาคารหอพักอาจารย์และนิสิต หอพักอาจารย์มีทั้งหมด 8 หลัง โดยมน.นิเวศ 1 - 4 และ มน.นิเวศ 5,6 อยู่บริเวณด้านหน้าของมหาวิทยาลัย ส่วนหอพักอาจารย์ มน.นิเวศ 7,8 จะอยู่บริเวณด้านหลังของมหาวิทยาลัย ส่วนหอพักนิสิตซึ่งประกอบด้วยอาคารขวัญเมือง และหอพักนิสิต 1 - 16 อยู่บริเวณด้านหลังของมหาวิทยาลัยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีหอพักนิสิตแพทย์ซึ่งตั้งอยู่หลังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร บริเวณข้าง มน.นิเวศ 6 อีกด้วย

       ศูนย์กีฬา ประกอบด้วย สนามกีฬากลาง สนามเทนนิส สนามบาสเกตบอล สนามวอลเล่ย์บอล สนามตะกร้อ สนามเปตอง สนามฟุตบอล สนามซอฟต์บอล สนามกีฬาในร่ม โรงละครศิลป์ศาลา (โรงละครกลางแจ้ง) อาคารกิจกรรม และสระว่ายน้ำสุพรรณกัลยา


ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ฉบับย่อ

ก่อนที่จะพาทุกท่านเยี่ยมชมความสวยงามและภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัยนเรศวร อิชั้นขอนำเสนอพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชให้ฟังคร่าว ๆ ก่อนนะคะ

พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. ๒๐๙๘- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘)

ทรงพระนามเดิมว่า พระองค์ดำ ค่ะ ทรงเป็นโอรสของ สมเด็จพระมหาธรรมราชา และ พระวิสุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) พระองค์เสด็จพระราชสมภพที่เมืองพิษณุโลก ทรงมีพระเชษฐภคิณีคือพระสุพรรณกัลยา และทรงมีพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ(องค์ขาว) ดังนั้นพระองค์จึงทรงเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระนามของพระองค์ปรากฏในลายลักษณ์อักษรหลายฉบับ เช่น พระนเรศ วรราชาธิราช พระนเรสส องค์ดำ จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพระนาม นเรศวรได้มาจากที่ใด สันนิษฐานเบื้องต้นว่า เพี้ยนมาจาก สมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช เป็น สมเด็จพระนเรศวร ราชาธิราช



ข้อมูลส่วนพระองค์

          พระปรมาภิไธย สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒
          วันพระราชสมภพ พ.ศ. ๒๐๙๘
          วันสวรรคต ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘
          พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
          พระราชบิดา สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
          พระราชมารดา พระวิสุทธิกษัตริย์  
 
การครองราชย์

          ราชวงศ์ ราชวงศ์สุโขทัย
          ทรงครองราชย์ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ -          ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘
          ระยะเวลาครองราชย์ 15 ปี
          รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
          รัชกาลถัดมา สมเด็จพระเอกาทศรถ





พระราชประวัติเมื่อทรงพระเยาว์กับชีวิตและการศึกษาในหงสาวดี

       ตลอดระยะเวลาในวัยเยาว์ของพระนเรศวรทรงใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเมืองพิษณุโลกยอมอ่อนน้อมต่อแห่งหงสาวดี และทำให้พิษณุโลกต้องแปรสภาพเป็นเมืองประเทศราชหงสาวดีไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าบุเรงนองได้ทรงขอพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดี ทำให้พระองค์ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนตั้งแต่มีพระชนม์มายุเพียง ๙ พรรษา
   
       นอกจากพระองค์แล้วยังมีองค์ประกันจากเมืองอื่น ๆ ที่เป็นเมืองขึ้นของหงสาวดีเป็นจำนวนมาก พระเจ้าบุเรงนองนั้น ทรงให้เหล่าองค์ประกันได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอย่างดี

       พระนเรศวรทรงใช้เวลา ๘ ปีเต็มในหงสาวดี ศึกษายุทธศาสตร์ของพม่า พระองค์ทรงศึกษาวิชาศิลปศาสตร์ และวิชาพิชัยสงคราม ทรงนิยมในวิชาการรบทัพจับศึก พระองค์ทรงมีโอกาสศึกษา ทั้งภายในราชสำนักไทย และราชสำนักพม่า มอญ และได้ทราบยุทธวิธีของชาวต่างชาติต่าง ๆ ที่มารวมกันอยู่ในกรุงหงสาวดีเป็นอย่างดี เช่น ชาวโปรตุเกส สเปน หรือชาวพม่าเอง ทรงนำหลักวิชามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมในการทำศึกได้เป็นเลิศ ดังเห็นได้จากการสงครามทุกครั้งของพระองค์ ยุทธวิธีที่ทรงใช้ ได้แก่ การใช้คนจำนวนน้อยเอาชนะคนจำนวนมาก และยุทธวิธีการรบแบบกองโจร พระองค์ทรงนำมาใช้ก่อนจอมทัพที่เลื่องชื่อในยุโรป นอกจากนั้น หลักการสงครามที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เช่น การดำรงความมุ่งหมาย หลักการรุก การออมกำลัง และการรวมกำลัง การดำเนินกลยุทธ ความเด็ดขาดในการบังคับบัญชา การระวังป้องกัน การจู่โจม ฯลฯ พระองค์ก็ทรงนำมาใช้อย่างเชี่ยวชาญ และประสบผลสำเร็จอย่างงดงามมาโดยตลอด เนื่องจากการที่พระองค์มีชีวิตอยู่ในฐานะองค์ประกันทำให้ทรงมีความกดดันสูงจากมังกะยอชวา (พระราชโอรสในพระเจ้านันทบุเรง) จึงทรงมีแรงผลักดันที่จะกอบกู้อิสรภาพให้กับบ้านเมืองของพระองค์ เช่น จากการชนไก่ของพระองค์กับมังกะยอชวา เป็นต้น รวมทั้งการเหยียดหยามว่าเป็นเชลย จากพวกพม่าด้วย

 
ยุทธหัตถี

       นับตั้งแต่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพเป็นต้นมา หงสาวดีได้เพียรส่งกองทัพเข้ามาหลายครั้ง แต่ก็ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาตีแตกพ่ายไปทุกครั้ง เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชา เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๓ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ เมื่อพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ และโปรดเกล้า ฯ ให้พระเอกาทศรถ พระอนุชา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่มีศักดิ์เสมอพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง

       ตลอดรัชสมัยของพระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากหงสาวดี และได้ทำสงครามกับอริราชศัตรูทั้งพม่าและเขมร จนราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาลกว่าครั้งใดในอดีตที่ผ่านมา งานสงครามในรัชสมัยของพระองค์ ทั้งในดินแดนไทยและดินแดนข้าศึก ได้ชัยชนะทุกครั้ง ทรงมีพระปรีชาสามารถในการนำทัพ ทรงริเริ่มนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในการทำสงคราม และเปลี่ยนแนวความคิดจากการตั้งรับมาเป็นการรุก และริเริ่มการใช้วิธีรบนอกแบบ
   
       ภาพแกะสลักนูนต่ำจำลองเหตุการณ์ยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวร ณ ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ที่ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรีการสงครามกับพม่าครั้งสำคัญที่ทำให้พม่าไม่กล้ายกทัพมารุกรานไทยอีกเลย เป็นเวลาเกือบสองร้อยปีคือ สงครามยุทธหัตถี เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๕ นั่นคือเมื่อหงสาวดีนำโดยพระมหาอุปราชามังสามเกียดยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง สมเด็จพระนเรศวรก็นำทัพออกไปจนปะทะกันที่หนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี บ้างก็ว่าจังหวัดกาญจนบุรี สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาจนกระทั่งสามารถเอาพระแสงง้าวฟันพระมหาอุปราชาขาดสะพายแล่ง สิ้นพระชนม์อยู่กับคอช้างนั่นเอง

 
พระราชกรณียกิจ

           พ.ศ. 2113 เสด็จออกร่วมรบกับทหารโดยขับไล่กองทัพเขมรได้สำเร็จ
           พ.ศ. 2114 ได้รับสถาปนาให้ปกครองเมืองพิษณุโลก เมื่อพระชนมายุ ๑๖ พรรษา
           พ.ศ. 2117 เสด็จไปรบที่เวียงจันทน์ เผอิญทรงประชวรเป็นไข้ทรพิษจึงเสด็จกลับ
           พ.ศ. 2121 ทรงทำสงครามขับไล่พระยาจีนจันตุออกไปจากกรุงศรีอยุธยา
           พ.ศ. 2127 ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง และกวาดต้อนคนไทยกลับพระนคร
           พ.ศ. 2127-พ.ศ. 2130 พม่ายกกองทัพมาตีไทยถึง ๔ ครั้ง แต่ถูกไทยตีแตกพ่ายกลับไป
           พ.ศ. 2133 ทรงเสด็จครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา
           พ.ศ. 2135 ทรงทำสงครามยุทธหัตถี และมังกะยอชะวา สิ้นพระชนม์
           พ.ศ. 2136 ทรงยกกองทัพไปตีเขมรและจับพระยาละแวกทำพิธีปฐมกรรม
           พ.ศ. 2138 และ พ.ศ. 2141 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงหงสาวดี ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒
           พ.ศ. 2148 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงอังวะ เมื่อไปถึงเมืองหางหรือเมืองห้างหลวง ทรงพระประชวร เป็นหัวระลอกขึ้นที่พระพักตร์ เสด็จสวรรคต ณ ทุ่งแก้ว เมืองห้างหลวง ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง พระชนมายุ ๕๐ พรรษา ครองราชย์สมบัติได้ ๑๕ ปี
 
สวรรคต

       พ.ศ. ๒๑๓๗ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงก็ให้พระเจ้าแปรมาตีกรุงศรีอยุธยาแต่ก็แตกทัพกลับไป พ.ศ. ๒๑๔๒ เสด็จออกไปตีกรุงหงสาวดี พระเจ้าหงสาวดีหนีไปเมืองตองอู กองทัพอยุธยาตามไปถึงเมืองตองอูแต่ขาดเสบียง พ.ศ. ๒๑๔๗ ยกกองทัพไปกรุงหงสาวดีอีกครั้งถึงเมืองหาง (ในพงศาวดารบางฉบับว่าเมืองห้างหลวง) อันเป็นเมืองอยู่ชายพระราชอาณาเขตในสมัยนั้น เมื่อปลายเดือน ๕ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๑๔๘ ได้เสด็จประทับแรมอยู่ ณ ตำบลทุ่งแก้ว เกิดประชวรเป็นหัวระลอกขึ้น (บ้างว่าถูกตัวสัตว์พวกแมลงมีพิษต่อย) ที่พระพักตร์แล้วเลยเป็นบาดพิษจนเสด็จสวรรคตที่เมืองหาง เมื่อวันจันทร์ เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ พ.ศ. ๒๑๔๘ เรื่องวันสวรรคตนี้มีรายละเอียดกล่าวต่างกัน พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวว่า เสด็จสวรรคตวันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ เพลาชายแล้ว ๒ บาท ปีมะเส็ง ในหนังสือ A History of Siam ของ W.A.R. Wood กล่าวว่าสวรรคตวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๖๐๕ (พ.ศ. ๒๑๔๘) พระชันษาได้ ๕๐ ปี เสวยราชสมบัติได้ ๑๕ ปี



ขอบคุณข้อมูล จาก : http://www.nu.ac.th/

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

หลักสูตรที่เปิดสอน มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก


    
เมื่อคราวที่แล้ว อิชั้นได้นำประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยนเรศวรมาฝากกันไปแล้วนะคะ วันนี้ฤกษ์ดี ฝนตกแต่เช้า (แล้วดีตรงไหนเนี่ย 555+) ก็เลยตั้งใจหยิบรายละเอียด หลักสูตรที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยนเรศวร ทั้งระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทุกระดับมาฝากกันค่ะ


ระดับประกาศนียบัตร

หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยทันตแพทย์

ระดับปริญญาตรี

คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภูมิศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรดิน
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาพืชสวน
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาอารักขาพืช
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร

คณะทันตแพทยศาสตร์

หลักสูตรทันตแพทยศาตรบัณฑิต  สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์

คณะนิติศาสตร์

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชานิติศาสตร์
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชานิติศาสตร์และระบบสารสนเทศ

คณะพยาบาลศาสตร์

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์(นานาชาติ)

คณะแพทยศาสตร์

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาแพทยศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์

หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม 
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง

คณะมนุษยศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชานาฎศิลป์ไทย
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาพม่าศึกษา
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาจีน
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาไทย
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  สาขาวิชาการท่องเที่ยว
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต  สาขาวิชาการบัญชี
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาคณิตศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาเคมี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาชีววิทยา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาฟิสิกส์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาระบบสารสนเทศ
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาสถิติ

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาจุลชีววิทยา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (หลักสูตรคู่ขนาน)

คณะวิศวกรรมศาสตร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

คณะศึกษาศาสตร์

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต  สาขาวิชาศึกษาศาสตร์-ศิลป์
หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต  สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต  สาขาวิชาศึกษาศาสตร์- วิทย์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์

คณะสหเวชศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต  สาขาวิชากายภาพบำบัด
หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต  สาขาวิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต  สาขาวิชารังสีเทคนิค

คณะสังคมศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาจิตวิทยา
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาประวัติศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาพัฒนาสังคม
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชารัฐศาสตร์

คณะสาธารณสุขศาสตร์

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร (ต่อเนื่อง 2 ปี)

วิทยาลัยนานาชาติ

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต  (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว

วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชานิติศาสตร์
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  สาขาวิชาบัญชี
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชารัฐศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาการประมง
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาเคมี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาชีววิทยา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภูมิศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาพัฒนาสังคม
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาพัฒนาสังคม (โครงการพิเศษ)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาจีน
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาไทย
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร (ต่อเนื่อง 2 ปี)

ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการสอน

ระดับปริญญาโท

บัณฑิตวิทยาลัย

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร

คณะพยาบาลศาสตร์

หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารพยาบาล
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการพยาบาลศึกษา

คณะแพทยศาสตร์


หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมชุมชน 
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง (หลักสูตรนานาชาติ) 
หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยาและวิทยาศาสตร์ชีวโมเลกุล (หลักสูตรนานาชาติ) 
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (หลักสูตรนานาชาติ) 
หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรม (หลักสูตรนานาชาติ)

คณะมนุษยศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาไทย
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาฝรั่งเศสศึกษา
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาอังกฤษ

คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์


หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยา
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์

คณะวิทยาศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาชีววิทยา
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาฟิสิกส์ประยุกต์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาคณิตศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาเคมี
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สนเทศ
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาสถิติประยุกต์

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์


หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาจุลชีววิทยา
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์

คณะวิศวกรรมศาสตร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมระบบการผลิตและอัตโนมัติ (นานาชาติ)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

คณะศึกษาศาสตร์

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต  สาขาวิชาการประกันคุณภาพการศึกษา
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต  สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต  สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต  สาขาวิชาคณิตศาสตร์
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต  สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต  สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต  สาขาวิชาบริหารจัดการกีฬา
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต  สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต  สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา

คณะสังคมศาสตร์

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชานโยบายสาธารณะ
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาสังคมศึกษา
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาไทยศึกษา
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาประวัติศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาพัฒนาสังคม

คณะสาธารณสุขศาสตร์

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

วิทยาลัยพลังงานทดแทน


หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาพลังงานทดแทน (นานาชาติ)

วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและสารสนเทศ
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต  สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาพัฒนาสังคม
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

ระดับปริญญาเอก

คณะเภสัชศาสตร์


หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (นานาชาติ)

คณะแพทยศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาระบบและนโยบายสุขภาพ

คณะมนุษยศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาไทย

คณะวิทยาศาสตร์


หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาคณิตศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาวิทยาศาสตรชีวภาพ

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

หลักสูตรวิทยาศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา
หลักสูตรวิทยาศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

คณะศึกษาศาสตร์


หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา
หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

คณะสังคมศาสตร์


 หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาพัฒนาสังคม


วิทยาลัยพลังงานทดแทน

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาพลังงานทดแทน(นานาชาติ)

นฐานะรุ่นพี่และศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยนเรศวร ก็หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับบุคคลทั่วไปและน้อง ๆ บ้างนะคะ

พรุ่งนี้มาติดตามชม การพาเที่ยวชมทัศนียภาพงาม ๆ ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวรกันบ้าง แล้วแวะมาเยี่ยมชมพร้อม ๆ กันนะคะ :)

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก

วันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ มารู้จักกับสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นสถาบันที่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือกันนะคะ

มหาวิทยาลัยที่อิชั้นจะแนะนำในวันนี้ก็คือ มหาวิทยาลัยนเรศวน จ.พิษณุโลกนั่นเองค่ะ

ก่อนที่จะมาทำความรู้จักกับคณะ และภาคส่วนต่าง ๆ ของทางมหาวิทยาลัย อิชั้นได้นำประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยนเรศวร มาฝากเพื่อน ๆ ทุกคนด้วย สำหรับเพื่อน ๆ ที่ไม่ทราบประวัติความเป็นมา หรือเกิดทันยุคที่มหาวิทยาลัยนเรศวรกำลังก่อตั้ง ก็ทำเนียนไปทำความรู้จักกับมหาวิทยาลัยนเรศวรด้วยกันนะคะ (555+)


ประวัติความเป็นมาของ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก

     ความเป็นมาเกี่ยวกับประวัติมหาวิทยาลัยนเรศวรนั้นมีสภาพการที่สืบต่อเนื่องกันมาหลายขั้นตอนค่ะ โดยเริ่มต้นจากการเป็น วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2510 ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา ภายหลังการก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรซึ่งจัดตั้งขึ้นเป็นแห่งแรก เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2497 ภายหลังการก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรซึ่งจัดขึ้นเป็นแห่งแรก เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2497 เป็นเวลา 13 ปี โดยเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษาแห่งที่ 4 รองจากประสานมิตร ปทุมวัน และบางแสน ตามลำดับ


     วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก เริ่มรับนิสิตรุ่นแรกเข้าเรียนในชั้นปีที่ 3 ในปี พ.ศ. 2510 ค่ะ แต่เนื่องจากความไม่พร้อมของสถานที่จึงได้ฝาก เรียนที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน 60 คน วิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน 60 คน และในปี พ.ศ. 2511 จึงเริ่มเปิดการเรียนการสอนโดยรับนิสิตเข้าศึกษาต่อใน ชั้นปีที่ 3 โดยดำเนินการสอนที่พิษณุโลก

ต่อมาวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย โดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517 นาม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตามหนังสือด่วนมากของสำนักพระราชวังที่ รล. 0002/1601 ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2517 และพระราชทานความหมายกำกับว่า "ศรีนครินทรวิโรฒ" (มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็น ศรีสง่า แก่มหานคร วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก ซึ่งเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา 1 ใน 8 ขณะนั้นจึงยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัย โดยเป็นวิทยาเขต 1 ใน 8 ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อันมี วิทยาเขตประสานมิตรเป็นศูนย์กลางการบริหารของมหาวิทยาลัยโดยในขณะนั้น มหาวิทยาลัย มีที่ดินอยู่ในครอบครอง 1 แปลง คือโฉนดที่ดินเลขที่ 6498 เนื้อที่ 102-3-37 ไร่ ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุแล้ว

       
     ในปี พ.ศ. 2522 มหาวิทยาลัยได้ขออนุญาตกระทรวงมหาดไทยใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ บริเวณทุ่งหนองอ้อปากคลองจิกเนื้อที่ตามหนังสือสำคัญ สำหรับหลวง 1280-2-85 ไร่ ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีการกำหนดเขตที่ดินบริเวณนี้เป็นเขตจัดรูปที่ดินอยู่ในความดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จึงขอใช้ที่ดินดังกล่าวเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ได้รับอนุมัติแล้วได้นำขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2527 โดยทำการรังวัดที่ดินใหม่เป็น 2 แปลง แปลงที่ 1 มีพื้นที่ 1283-3-06 ไร่ ทะเบียนราชพัสดุเลยที่ 903 แปลงที่ 2 มีพื้นที 102-3-37 ไร่ ทะเบียนราชพัสดุเลขที่ 904

     รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคและมีมติรับหลักการที่จะยกฐานะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก ขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยเอกเทศ ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ 2527 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการตราพระราชบัญญัติ จัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น ช่วงปีพ.ศ. 2527-2531 มหาวิทยาลัยจึงได้เตรียมความพร้อมสำหรับมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ โดยจัดทำผังแม่บทการเตรียมงบประมาณทางด้าน การก่อสร้าง และพัฒนาด้านอาคารสถานที่ และบุคลากร รัฐบาลขณะนั้นมี พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติให้ยกฐานะวิทยาเขตพิษณุโลก ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ และได้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. 2533 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษเล่มที่ 107 ตอนที่ 131 ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 400 ปี ของการเสด็จขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณูปการอันใหญ่หลวงแก่แผ่นดินไทย อีกทั้งยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีประสูติกาล และจำเริญวัยที่เมืองพิษณุโลก มหาวิทยาลัย จึงได้กำหนดให้วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 เป็นวันกำเนิดมหาวิทยาลัย และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยใหม่นี้ว่า "มหาวิทยาลัยนเรศวร" เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2532 นับเวลาจากการเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา 7 ปี และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒอีก 16 ปี รวมเวลาแห่งการก่อตั้งแต่เริ่มจนกระทั่งเป็นมหาวิทยาลัยนเรศวรได้ใช้เวลา ยาวนานถึง 23 ปี

     พรุ่งนี้เราจะมาทำความรู้จักกับภาคส่วนอื่น ๆ ของทางมหาวิทยาลัย พร้อมกับภาพถ่ายสวย ๆ ของสถานศึกษาที่ขึ้นชื่อของ จ.พิษณุโลกแห่งนี้เพิ่มเติมกัน อย่าลืมกลับมาติดตามรับชมด้วยกันนะคะ

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554

กราบหลวงพ่อโต : วัดพระศรีรัตนมหาธาตุมหาวรวิหาร จ.พิษณุโลก

สวัสดีเช้าวันหยุดยาว ช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือปีใหม่ไทยนะค้าาา ..วันนี้เราก็ยังคงเดินอิ่มบุญ  กันอยู่ใน วัดใหญ่ หรือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุมหาวรวิหารของจังหวัด พิษณุโลก กันค่ะ (ไม่ต้องทานข้าวกันแล้วนะวันนี้ 555+)




เพื่อน ๆ เคยสังเกตุมั้ยคะ เวลาเราแวะเวียนไปเที่ยว หรือไปไหว้พระตามสถานที่โบราณและเก่าแก่กันทีไร บางครั้งเราก็มักจะมุ่งตรงไปไหว้พระที่เป็นองค์สำคัญ ๆ ของที่นั่นกันก่อนเลย บางที...ไหว้พระเสร็จแล้วก็ลก ๆ ๆ เดินซื้อหาของฝากกัน จนหลงลืมไปว่า อาจจะยังมีสิ่งสำคัญสิ่งอื่น หรือวิหารพระองค์อื่นที่น่าไปกราบไหว้บูชา และเที่ยวชมในบริเวณนั้นอีกก็เป็นได้

วัดใหญ่ ของเราก็เป็นเช่นนั้นค่ะ

นอกจากตัววิหารของหลวงพ่อพุทธชินราชแล้ว เมื่อเดินย้อนกลับมาทางลานจอดรถด้านหลังของวัด เราก็จะพบกับโบถส์ของหลวงพ่อโต ซึ่งเป็นพระอุโบสถเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งซึ่งควรค่าแก่การแวะเข้าไปกราบพระ และชมความงามของโบถส์เป็นอย่างยิ่ง




ภายนอกพระอุโบสถเมื่อแรกเห็น อิชั้นบอกได้คำเดียวว่า ก็เหมือนกับอุโบสถในวัดทั่ว ๆ ไป ไม่ได้มีความดึงดูด น่าสนใจให้ผู้คนแวะเข้าไปนมัสการหรือชมความงามด้านในมากกว่าที่อื่นเลยอ่ะนะคะ

 แต่เมื่อคุณก้าวไปด้านใน.....




ไม่อยากจะคุยเน้อ อิอิ..แต่อยากให้เพื่อน ๆ ได้ไปเห็นด้วยตาตัวเองน่ะว่า..งามสักแค่ไหน..




และต้องขออภัย หากภาพที่ได้จะไม่งามเท่าที่ตาเห็น




พระอุโบสถของวัดใหญ่หลังนี้มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเช่นเดียวกันค่ะ แล้วก็มามีการปฏิสังขรณ์กันในสมัยอยุธยาตอนต้น จากนั้นก็มีการบูรณะกันอีกหลายครั้งเรื่อยมา จนกระทั่งเป็นพระอุโบสถที่มีความงดงามอย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบันอ่ะนะคะ




หลวงพ่อโต ซึ่งเป็นพระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย องค์ใหญ่ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 8 ศอก มีพระอุนาโลมแบบเดียวกับพระพุทธชินราชค่ะ อิชั้นพยายามลองหาประวัติของการสร้างหลวงพ่อโตองค์นี้แต่ก็ยังไม่พบน่ะ ซึ่งโดยปกติเมื่อมีการสร้างโบสถ์ก็น่าจะมีองค์พระประธานอยู่ด้วย หากพระอุโบสถหลังนี้มีประวัติตั้งต้นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ก็ไม่รู้ว่าพระประธานแต่เดิมจะใช่หลวงพ่อโตองค์นี้หรือเปล่า




เท่าที่ลอง search หาข้อมูลดู ก็มีผู้ให้ข้อสังเกตจากลักษณะของเข่าองค์พระที่ถูกสร้างให้ติดกับผนังทั้งสองด้านพอดี ว่าน่าจะเป็นองค์พระที่มีมาแต่เดิมอ่ะนะคะ




ภายในโบถส์หลวงพ่อโต นอกจากจะมีองค์หลวงพ่อซึ่งมีพุทธลักษณะอันงดงามแล้ว ก็ยังมีภาพจิตกรรมฝาผนังที่เขียนขึ้นใหม่อีกด้วย




ภาพเขียนจิตกรรมฝาผนังชุดนี้ เป็นภาพเขียนเกี่ยวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการทรงยุทถหัตถีของสมเด็จพระนเรศวร เจ้าฟ้าแห่งเมืองสองแควนั่นเอง




ถ้าจำไม่ผิด เมื่อปีที่แล้ว อิชั้นก็ได้มากราบหลวงพ่อโตช่วงที่ช่างเขียน กำลังทำการเขียนภาพจิตกรรมฝาผนังชุดนี้ด้วย เสียดายที่ภาพถ่ายชุดนั้น gone with the windows ตัวเก่าไปซะแล้ว
ของบางอย่างเมื่อสูญเสียมันไป และเราไม่มีทางจะเรียกมันย้อนคืนกลับมาได้แล้ว ก็ต้องทำใจยอมรับมันน่ะนะคะ ทางเลือกที่ดีที่สุดก็คือ...ทำวันนี้ให้ดีที่สุด และต้อนรับสิ่งใหม่ ๆ ในชีวิต อย่างมีสติและเบิกบาน..

...............

งวดนี้พาเที่ยวหลายวันหน่อยนะคะ...ก็อย่างที่บอกนั่นล่ะค่ะ ว่า "วัดใหญ่" มีอะไรมากกว่าที่เราคิดกันจริง ๆ
..........
และจริง ๆ แล้ว จ.พิษณุโลกก็อุดมไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวอีกเยอะมาก เดี๋ยวมาพาเที่ยวต่อนะคะ

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

วิหารพระพุทธเจ้าเข้านิพพาน : วัดพระศรีรัตนมหาธาตุมหาวรวิหาร จ.พิษณุโลก

9 เมษายน 2554~

อรุณสวัสดิ์เช้าวันหยุดค่า..

ปีนี้รู้สึกสงกรานต์มาเร็วนะคะ แถมเป็นสงกรานต์ที่อากาศแปลก ๆ ชอบกลด้วย นี่ขณะที่อิชั้นนั่งอัพบล้อกอยู่นี่ฟ้าก็หลัวเหมือนฝนจะตกลงมาอยู่รอมร่อค่ะ หุหุ นี่ถ้าถึงวันสงกรานต์จริง ๆ แล้วฝนฟ้าเทซู่ซ่าลงมา คงเป็นอะไรที่คนชอบเล่นน้ำสงกราต์เซ็งสุดยอดกันเลยทีเดียวเชียว

ถึงเทศกาลสำคัญซึ่งได้ชื่อว่าเป็น "ปีใหม่ไทย" แล้ว ก็อย่าลืมไปรดน้ำ-ดำหัว ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือกันนะคะ แล้วก็อย่าลืมไหว้พระทำบุญกันด้วย สะสมบุญเอาไว้เถอะค่ะ ถึงจะเป็นอะไรที่เรามองไม่เห็น แต่อย่างน้อย การคิดดี-ทำดี มันก็ทำให้เราใจเราเบาสบายได้อีกทางนึงล่ะ

มาค่ะ...วันนี้อิชั้นจะพาเที่ยวชมวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร หรือวัดใหญ่ ซึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวพิษณุโลกและชาวไทยกันต่อ

คาดว่าคงใช้เวลาอีกสักบล็อกสองบล็อกอ่ะนะคะ กว่าจะพาเดินได้ทั่วทั้งวัด อิอิ..




สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้ทรงนิพนธ์ไว้ว่า “นมัสการพระพุทธชินราชแล้ว ดูธรรมมาสน์เทศน์ ธรรมาสน์สวด   ดูเรือนแก้ว แลสิ่งทั้งปวงเหล่านี้ ล้วนเป็นของดีอย่างเอก ไม่เคยพบไม่เคยเห็น” มาก่อน


พระพุทธเจ้าเข้านิพพาน ก็เป็นหนึ่งในของดีเหล่านั้นค่ะ..

พระพุทธเจ้าเข้านิพพาน..เป็นโบราณวัตถุในสมัยอยุธยา และประดิษฐานอยู่ ณ.วิหารแกลบ ภายในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุมหาวรวิหาร




วิหารแห่งนี้เป็นวิหารขนาดกลาง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวิหารพระพุทธชินราชนอกเขตระเบียงคต





ภายในวิหารได้ประดิษฐานหีบปิดทอง(สมมุติ)บรรจุพระบรมศพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำด้วยศิลาตั้งอยู่บนจิตรากาธานประดับด้วยลวดลายลงรักปิดทองร่องกระจกสวยงาม ที่ปลายหีบมีพระบาททั้งสองยื่นออกมา และบริเวณด้านหน้า หรือด้านท้าย หีบพระบรมศพ มีพระมหากัสสปะเถระ นั่งนมัสการพระบรมศพ ซึ่งนับว่าเป็นโบราณวัตถุที่สำคัญของวัดพระศรีรัตนมหาวรวิหาร โดยผู้สร้างถือคติว่าเป็นการจำลองสังเวชนียสถานของพระพุทธเจ้า และยังคาดว่ามีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยอีกด้วย





สำหรับคติความเชื่อของพุทธศาสนิกชน ที่เดินทางมากราบไหว้ขอพรจากพระเจ้าเข้านิพพาน และหีบพระบรมศพนั้น ต่างเชื่อว่า เมื่อได้มากราบพระบาทของพระพุทธเจ้าแล้วอธิษฐานขอสิ่งที่ต้องการแล้วจะสัมฤทธิผลทุกประการอ่ะนะคะ





กราบพระบาทในที่นี้ก็คือ เอาหน้าผากของเราไปแตะที่ฝ่าพระบาทขององค์พระแล้วก็อธิษฐานจิตจริง ๆ นะ เสียดายช่วงที่อิชั้นไปถ่ายภาพ เป็นช่วงที่ไม่ค่อยมีคนน่ะ ไม่งั้นก็คงได้เก็บภาพมาฝากกันมั่ง

กราบท่านขอพรไหว้พระกันแล้ว พรุ่งนี้จะเป็นตอนสุดท้ายที่จะพาเที่ยววัดใหญ่นะคะ

.............

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

ไหว้พระอัฎฐารส (พระยืน) : วัดพระศรีรัตนมหาธาตุมหาวรวิหาร จ.พิษณุโลก

เรายังคงเดินเที่ยวชมความสวยงามขององค์พระและวิหารน้อยใหญ่ อยู่ใน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุมหาวรวิหาร หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่า วัดใหญ่ จ.พิษณุโลก กันอยู่นะคะ

สำหรับคนที่ค่อนข้างจะห่างไกลจาก "วัด" แบบอิชั้น พอได้ยินคำว่า "พระอัฐฐารส" ก็มักจะงงไปในทันทีค่ะ ว่า..เป็นพระปางไหนหรือ..

พระอัฎฐารส นี้ มีชื่อเรียกกันอีกชื่อนึงก็คือ พระปางห้ามญาติ ค่ะ โดยพระพุทธรูปจะอยู่ในอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม (แต่ก็มีบางองค์ที่ยกพระหัตถ์ขึ้นข้างเดียวนะคะ) ลักษณะเดียวกับปางห้ามสมุทรและปางห้ามพยาธิ และนิยมทำเป็นแบบพระทรงเครื่อง




บริเวณหลังวิหารพระพุทธชินราช มีพระอัฏฐารส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติสูง 18 ศอก (ประมาณ 10 เมตร) อยู่เช่นกันค่ะ พระอัฎฐารสนี้ สร้างในสมัยเดียวกับพระพุทธชินราช คือในราว พ.ศ. 1800 เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารใหญ่อ่ะนะคะ แต่ปัจจุบันนี้ตัววิหารได้พังไปจนหมด เหลือเพียงเสาที่ก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ 3 – 4 ต้น และเนินพระวิหารบางส่วนเท่านั้น เรียกกันว่า “เนินวิหารเก้าห้อง” เมื่อไม่นานมานี้กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะขุดแต่งทางโบราณคดีในบริเวณนี้ และขุดพบฐานพระวิหารเดิมและพระพุทธรูปวัตถุโบราณอีกจำนวนหนึ่งด้วย




และแน่นอน..คอนเซ็ปต์ของอิชั้น ต้อง "เที่ยงวัน" เท่านั้นถึงจะมัวขี้ตาออกไปเก็บรูปได้ ( อย่าเอาเยี่ยงอย่างนะคะ เวลาไปถ่ายภาพสถานที่เลือกเช้าที่แดดอ่อน ๆ และเย็นที่แสงเริ่มทอดแล้วจะดีกว่า อ้อ...ดูทิศทางของพระอาทิตย์ด้วยเน้อ ขืนถ่ายรูปย้อนแสงแบบอิชั้นนี่ ฟ้าก็จะขาวโบ๊ะ แถมภาพที่ได้ก็จะทะมึนอึนทึนเช่นนี้แล )


อย่ากระนั้นเลย มีเวลาวันไหน ออกไปถ่ายซ่อมกันอีกรอบดีกว่านะคะ(ตั้งใจจะหนีเที่ยวอีกใช่มั้ยเนี่ย 555+...)




นอกจากพระอัฐารสที่เป็นหนึ่งในโบราณสถานที่สำคัญของวัดแล้ว ที่จะอดกล่าวถึงเสียมิได้ ก็คงจะเป็นพระปรางค์ ซึ่งเป็นปูชนียสถานสำคัญที่สุดของวัดค่ะ



โดยที่การก่อสร้างพระปรางค์ ของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท) นี้ ได้ทำตามคตินิยมของหัวเมืองราชธานี ของอาณาจักรสุโขทัยในสมัยนั้น คือประสงค์ให้พระปรางค์เป็นหลักเป็นประธานของวัด และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ รูปแบบของพระปรางค์เมื่อเริ่มสร้างสันนิษฐานว่า เป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม โดยสร้างครอบพระสถูปเจดีย์ที่สร้างในรัชสมัยของพ่อขุนศรีนาวนำถม เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นไป ครองราชย์ที่เมืองพิษณุโลก ได้โปรดให้บูรณะพระปรางค์โดยดัดแปลงพระเจดีย์ ได้ให้เป็นรูปแบบพระปรางค์แบบขอมตามพระราชนิยมในสมัยกรุงศรีอยุธยา
(นี่ถ้าสมัยเรียนอิชั้นเอาใจใส่ท่องจำวิชาประวัติศาสตร์ของยุคต่าง ๆ ประเทศต่าง ๆ ให้มากหน่อยเหมือนที่ขยันอัพบล้อกตอนนี้ สงสัยเกรด A และ ดับเบิ้ล 4 คงจะไม่หายไปไหน -- อาจารย์ขา หนูขอโทษ)



เฮ้อ...ไปบอกใคร ใครเค้าก็ไม่เชื่อ ว่ายัยนี่จบเอกประวัติศาสตร์มา

สองรูปล่างนี้ ฤทธิ์ฟ้าเป็นฟ้าของ CPL อ่ะนะคะ
..........

เดี๋ยวมาเดินเที่ยวกันต่อค่ะ

กราบหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุมหาวรวิหาร จ.พิษณุโลก 2~

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุมหาวรวิหาร จ.พิษณุโลก 
             Wat Phra Sri Rattana Mahathat (Wat Yai) Phitsanulok

เมื่อวานเล่าค้างกันถึงวันที่หยุดงานแว้บ ๆ...ไปไหว้พระทำบุญให้อุ่นใจอ่ะนะคะ  วันนี้ก็เลยขอมาพาเที่ยว วัดใหญ่ หรือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุมหาวรวิหาร กันต่อ แต่ก่อนที่จะไปเดินเที่ยวชมวัด และไหว้พระองค์อื่น ๆ ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้ เราก็ต้องเข้าโบถส์ไปกราบพระพุทธชินราช พระคู่บ้านคู่เมืองของชาวพิษณุโลกและชาวไทยกันก่อนเป็นอันดับแรกอ่ะนะคะ..มาค่ะ..เข้าไปกราบพระขอพรด้วยกันเถอะ....




พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณค่ะ มีตำนาน พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2409 โดยอาศัยหลักฐานจากพงศาวดารเหนือ แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดียุติได้ดังนี้



ตามตำนานกล่าวเอาไว้ว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกหรือพระมหาธรรมราชา (พญาลิไท) กษัตริย์องค์ที่ 4 ในพระราชวงศ์พระร่วง สมัยกรุงสุโขทัย เป็นผู้สร้างพระพุทธชินราช เมื่อราว พ.ศ. 1900 ค่ะ โดยทรงโปรดให้ช่างสวรรคโลก ช่างเชียงแสน และช่างหริภุญไชย สมทบกับช่างกรุงศรีสัชนาลัย ช่วยกันหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ 3 องค์ ได้แก่ พระศรีศาสดา พระพุทธชินราช และพระพุทธชินสีห์ จวบจนถึงวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะจุลศักราช 717 ราว พ.ศ. 1898 ได้มงคลฤกษ์ กระทำพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์

 เมื่อเททองหล่อเสร็จแล้ว และทำการแกะพิมพ์ออกปรากฏว่า พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา องค์พระสมบูรณ์สวยงามดี ส่วนพระพุทธชินราชนั้นได้หล่อถึง 3 ครั้งก็ไม่เสร็จเป็นองค์พระได้ กล่าวคือทองแล่นไม่ติดเต็มองค์น่ะนะคะ
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกจึงทรงตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงเอาบุญบารมีของพระองค์เป็นที่ตั้ง ครั้งนั้นจึงร้อนถึงอาสน์พระอินทร์เจ้าจึงนฤมิตเป็นตาปะขาวลงมาช่วยทำรูปพระ คุมพิมพ์ปั้นเบ้า ด้วยอานุภาพพระอินทราธิราชเจ้าทองก็แล่นรอบคอบบริบูรณ์ทุกประการหาที่ติมิได้ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกทรงปิติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงตรัสให้หา "ตาปะขาว" ผู้นั้น แต่ตาปะขาวได้หายตัวไปแล้ว หมู่บ้านและวัดที่ตาปะขาวหายไปนั้นได้ชื่อว่า บ้านตาปะขาวหายและวัดตาปะขาวหายต่อมาจนถึงทุกวันนี้ (มีโอกาสจะพาไปเที่ยวชม วัดตาปะขาวหาย นะคะ)
และจากวัดตาปะขาวหายขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ 800 เมตร ได้ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการหายตัวไปของตาปะขาว เล่ากันว่ามีผู้พบเห็นว่าท้องฟ้าเปิดเป็นช่องขึ้นไป ชาวบ้านเห็นเป็นที่อัศจรรย์จึงได้สร้างศาลาขึ้นไว้ ณ พื้นดินเบื่องล่างไว้เป็นที่ระลึก เรียกว่า "ศาลาช่อฟ้า" ตราบจนทุกวันนี้

ออกมาจากพระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราชแล้ว ยังไม่ต้องเลี้ยวไปไหนนะค้า..อิชั้นจะพาไปไหว้ "พระเหลือ" ต่อ




"พระเหลือ" นี้ ว่ากันว่าพระยาลิไททรงรับสั่งให้ช่างนำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือจากการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา มารวมกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็ก หน้าตักกว้าง 1 ศอกเศษ และพระสาวกยืนอีก 2 องค์ ส่วนอิฐที่ก่อเตาสำหรับหลอมทองในการหล่อพระพุทธรูป นำมารวมกันบนชุกชี (ฐานชุกชี) พร้อมกับปลูกต้นมหาโพธิ 3 ต้นลงบนชุกชี เรียกว่า โพธิ์สามเส้า ระหว่างต้นโพธิ์ได้สร้างวิหารน้อยขึ้นมา 1 หลัง อัญเชิญพระเหลือกับสาวกเข้าไปประดิษฐานอยู่ เรียกว่า วิหารพระเหลือ น่ะนะคะ



ที่อิชั้นพามาไหว้ "พระเหลือ" ด้วยนี้ก็เพราะมีความเชื่อกันอย่างแพร่หลายว่าจะช่วยส่งเสริมด้านโชคลาภจะได้มีทรัพย์สินเงินทอง เหลือกินเหลือใช้ไปตลอดกาล

ใครที่เคยมาแล้วพลาดโอกาสไหว้ท่าน ก็หาโอกาสแพ็คกระเป๋ากลับมาใหม่ซะโดยไวอ่ะนะคะ

...........

แปะไว้ก่อนค่ะ ขอนอนเอาแรงก่อน เดี๋ยวว่างจากงานแล้วจะมาพาเที่ยวต่อนะ



(ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

ห้องพักรายวันเปิดใหม่ พิษณุโลก

The Livable Home : Phitsanulok
                                           (เดอะ ลิฟเอเบิล โฮม : พิษณุโลก)



ด้วยห้องพักสะดวกสบายกว่า 150 ห้อง ในทำเลใกล้มหาวิทยาลัยนเรศวร ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก (อยู่ห่างจากประตูรั้วมหาวิทยาลัยเพียงแค่ 250 เมตร และอยู่ห่างจากตัวเมืองเพียงแค่ 10 กม.) The Livable Home (เดอะ ลิฟเอเบิล โฮม) เปิดให้บริการห้องพักรายวันพร้อมสิ่งอำนวยความสำดวกครบครัน ไม่ว่าจะเป็นห้องแอร์คอนดิชั่นเย็นฉ่ำ เครื่องทำน้ำอุ่น ทีวี 21 นิ้ว ตู้เย็นขนาดใหญ่ เคเบิ้ลทีวีกว่า 100 ช่อง สัญญาณอินเตอร์เน็ตฟรีภายในห้องพัก และฟรีสัญญาอินเตอร์เน็ต wifi บริเวณล้อบบี้ ตลอด 24 ชม.

ที่จอดรถสะดวกสบาย เข้า-ออกที่พักได้ถึง 2 ทาง มีบริการซัก-อบ-รีดเสื้อผ้า ด้านหน้าตึก / ร้านอาหารตามสั่ง (สามารถสั่งขึ้นไปบนห้องพักได้) / เซเว่น-อีเลฟเว่น / แม่บ้านอยู่ประจำตลอด 24 ชม. / ผู้จัดการตึกกะกลางวัน-กลางคืน / ยาม และ กล้องวงจรปิดให้ความปลอดภัยถึง 32 จุด

The Livable Home

มีกำหนดเปิดให้บริการห้องพักรายวัน รายเดือน ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2554 นี้เป็นต้นไป โดยมีค่าบริการห้องพักดังนี้

ห้องพักรายเดือน ราคาห้องพักเริ่มต้นที่ 2,900-3,400 บาท (ห้องพัดลมโปร่งสบาย-ห้องแอร์เย็นฉ่ำ)

ห้องพักรายวัน ราคาห้องพักเริ่มต้นที่ 350 บาท/คืน (พิเศษฉลองเปิดห้องพัก พัก 10 คืน ฟรี !! 1 คืน)

-กรณีลูกค้าห้องพักรายวัน เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว/หน่วยงาน ที่ต้องการสำรองห้องพักเป็นจำนวนมาก / จำนวนหลายวัน กรุณาติดต่อโดยตรงกับทางแผนกออฟฟิศ เพราะเรามีส่วนลดให้เป็นกรณีพิเศษ :)



ความคืบหน้าของห้องพักรายวัน The Livable Home ประจำวันที่ 5/04/2554

ห้องพักโปร่งสบาย ใกล้ชิดธรรมชาติ เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวนความสะดวกครบครัน (แอร์,ทีวี-เคเบิ้ลทีวีกว่า 100 ช่อง,ตู้เย็น,เครื่องทำน้ำอุ่น,บริการสัญญาณอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ฟรี, บริการสัญญาณ wifi ล็อบบี้ฟรี ตลอด 24 ชม.,บริการลิฟท์ มีกล้องวงจรปิดเพื่อความปลอดภัย ถึง 36 จุด)

สถานที่จอดรถยนต์กว้างขวาง ที่จอดรถจักรยานยนต์ในร่ม พร้อมพนักงานรักษาความปลอดภัยยามค่ำคืน

อยู่ห่างจาก ประตูรั้วมหาวิทยาลันนเรศวร (ประตูสนามกีฬา 5) เพียง 250 เมตร ใช้เวลาเดินเพียงแค่ 5 นาทีจากที่พัก ใช้เวลาขับรถเพียงแค่ 1 นาที

อยู่ห่างจาก ตัวเมืองพิษณุโลก เพียงแค่ 10 กม. มีบริการรถเมล์รอบเมือง(รถแอร์) เข้า-ออกตัวเมืองจากภายในมหาวิทยาลัย ตั้งแต่เวลา 06.00-20.00 น. ใช้เวลาเดินทางเพียงแค่ 20 นาที (สามารถนั่งรถเมล์รอบเมืองจาก ท่ารถ บขส.พิษณุโลก มาที่มหาวิทยาลัยได้ทันที หรือสามารถลงรถทัวร์ / รถ บขส. มาลงบริเวณหน้ามหาวิทยาลัย และนั่งรถไฟฟ้าฟรีของมหาวิทยาลัย+เดินมาที่ The Livable Home ได้โดยสะดวก หรือจะใช้บริการรถแท๊กซี่จากในตัวจังหวัดได้ทุกจุด
ท่านสามารถจองห้องพักรายวันล่วงหน้าได้ก่อนเวลาเข้าพัก โดยสามารถโทรศัพท์จองได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 081-3797786 (คุณแหม่ม) ตั้งแต่เวลา 06.00-21.00 น. ไม่เว้นวันหยุด



' The Livable Home '
ให้บ้านของเรา...เป็นเสมือนบ้านของคุณ

  • บริการเสริมของทาง The Livable Home : บริการจัดหารถตู้ เพื่อไปเที่ยวยัง จ.ใกล้เคียง เช่น อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ฯลฯ และสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ใน จ.สุโขทัย แบบไปเช้า-เย็นกลับได้ โดยใช้เวลาเดินทางแค่เพียง 1 ชม.เท่านั้น :) ท่านสามารถนำรถยนต์ส่วนตัวของท่านมาจอดที่ที่พัก ก่อนจะนัดกับรถตู้ผู้ให้บริการเพื่อมารับท่านไปเที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ทั้งใน จ.พิษณุโลก และจังหวัดใกล้เคียงได้ ในราคาไม่แพง ไม่ต้องขับรถเหนื่อย เที่ยวได้ครบ
เปิดรับจอง....ห้องพักรายวัน ช่วงรับปริญญา มหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปี 2555 แล้ว กรุณาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณแหม่ม 081-3797786




ห้องพักรายวัน เปิดตลอด 24 ชม. (มีพนักงานต้อนรับตลอดเวลา)